bootstrap web building

ตัวอย่างกิจกรรม โครงการก่อน 15 ปี ไม่ขับขี่ มอเตอร์ไซค์

ที่โรงเรียนสามารถทำได้


 

1.โครงการรณรงค์
โดยเยาวชนนำเยาวชน

วัตถุประสงค์ :

เพื่อรณรงค์การลดอัตราการขับขี่รถจักรยานยนต์มาโรงเรียน ก่อนอายุ 15 ปี

ตัวชี้วัดผลลัพธ์โครงการ :
1. นักเรียนอายุต่ำกว่า 15 ขับขี่รถจักรยานยนต์มาโรงเรียน ลดลงร้อยละ60

2. เกิดสื่อรณรงค์การลดอัตราการขับขี่รถจักรยานยนต์มาโรงเรียนและนอกเวลาโรงเรียน ก่อนอายุ 15 ปี อย่างน้อย 3 รูปแบบ ได้แก่ สื่อ Social media สื่อวิทยุท้องถิ่น การสร้างสถานการณ์จำลองจริง

3. เกิดช่องทางการรณรงค์สื่อสาร เพื่อการลดอัตราการขับขี่รถจักรยานยนต์มาโรงเรียนและนอกเวลาโรงเรียน ก่อนอายุ 15 ปี อย่างน้อย 3 ช่อง ได้แก่ สื่อมวลชน เช่น ทีวี วิทยุ ทั้งส่วนกลางและท้องถิ่น, สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น อีบุ๊ค หนังสือพิมพ์, สื่อ Social media เช่น Face book YouTube
 

รูปแบบกิจกรรมที่สามารถทำได้ 

กิจกรรม1: เริ่มต้นเรียนรู้ ”15ปีทำไมต้องไม่ขี่” 

นักเรียนและครูที่เข้าร่วมโครงการเข้ารับการอบรมหลักสูตร 15ปีไม่ขี่ ผ่านหลักสูตรออนไลน์ของศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก

ทุกคนต้องได้ประกาศนียบัตรจากการอบรมก่อนเริ่มโครงการ

กิจกรรม 2: นักสำรวจความเสี่ยง 

ทำการสำรวจพฤติกรรมการขับขี่และการโดยสารมอเตอร์ไซด์ ทั้งที่ไปกลับโรงเรียน รวมทั้งเด็กในละแวกชุมชน

- โดยใช้แบบสำรวจที่กำหนดเป็นแบบนำร่อง ให้นักเรียน ครู ที่รับผิดชอบโครงการช่วยกันดูและแก้ไขแบบสอบถามให้เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ ก่อนเริ่มดำเนินการสำรวจการขี่มอเตอร์ไซด์ของเด็กในโรงเรียน และนำผลสำรวจมาหาข้อสรุปร่วมกัน ก่อนนำผลไปให้ผู้บริหารโรงเรียน ชุมชน พ่อแม่ผู้ปกครอง และนักเรียนอื่นๆได้รับทราบทั่วกัน เป็นการเริ่มต้นมีบทบาทขับเคลื่อนนโยบายโรงเรียนและชุมชน และมีผลต่อการรับรู้ความเสี่ยงของนักเรียน ชุมชนและครอบครัวในเรื่องขับขี่ก่อนวัย

- การเฝ้าระวังพฤติกรรมเสี่ยง จุดเสี่ยงบนถนน และ Photovoice เสียงจากภาพสู่นโยบาย ทำการถ่ายภาพพฤติกรรมเสี่ยง/จุดเสี่ยงบนถนน หน้าโรงเรียน ในโรงเรียน ในชุมชน เข้าสู่ระบบส่วนกลางซึ่งจะปรากฏผลการสำรวจของนักเรียนในwebsite พร้อมระบุพิกัด GPS และชื่อองค์กรท้องถิ่นที่ดูแลพฤติกรรมเสี่ยงที่เกิดขึ้นบนพื้นที่จุดเสี่ยงนั้น หลังจากนั้นนำภาพนั้นมาบรรยายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนในชั้นเรียน รวมทั้งนำมาจัดนิทรรศการและเชิญผู้บริหารองค์กรท้องถิ่น หัวหน้าชุมชน เข้าร่วม รับฟังและแสดงความเห็นในการดำเนินการแก้ไขต่อไป 

กิจกรรม3: นักออกแบบเพื่อการสื่อสาร 

- นำข้อมูลกิจกรรม 2 มาออกแบบจัดทำ info graphic และ กระตุ้นสื่อเพจออนไลน์ #ก่อน15ไม่ขี่ https://www.facebook.com/CsipDekDontDrive/ และนำ มาจัดทำคลิปเผยแพร่ และขยายผลผ่านโซเชียลมีเดีย และสื่อมวลชน กระตุ้นยอดไลค์ ยอด Reach

- รวมทั้ง สร้างกระแส
เชิงสัญลักษณ์ “ก่อน 15 ไม่ขี่” 

ด้วยวิธีการสถานการณ์จำลองเกิดอุบัติเหตุ 

กิจกรรม 4: นักประสานพลัง 

หาภาคีเครือข่ายสนับสนุนโดยการนำข้อมูลเข้าพบเพื่อชี้แจงโครงการ ขอรับการสนับสนุน เครือข่ายเช่นผู้นำชุมชนเทศบาล / สถานีตำรวจภูธร / รพสต/ ที่ว่าการอำเภอ / สื่อท้องถิ่น / เทศบาลนครระยอง / โรงเรียน และโรงเรียนใกล้เคียง / ผู้นำชุมชนอื่นๆ เช่น อสม อพปร

กิจกรรม 5: นักรณรงค์เพื่อความปลอดภัย
 

จัดให้มีการรณรงค์โดยยึด 5 ยุทธวิธี การปรับพฤติกรรมเด็ก don’t driveดังนี้ 


ยุทธวิธีที่ 1 แนวทาง “แสดงให้เห็นถึงอันตรายของการขับขี่ก่อนวัยเพราะวุฒิภาวะไม่ถึง” แนวทางนี้กลุ่มเป้าหมายได้แก่เพื่อนนักเรียน ประชาชนทั่วไป และสื่อ มี การให้ข้อมูล สถิติการเสียชีวิตต่างๆ กระตุ้นการตื่นตัวของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งโดยตรงและผ่านการกระจายสื่อสาธารณะ รวมทั้งแนะนำให้นักเรียนเข้าไปรับการอบรมในหลักสูตรออนไลน์ โดยครูกำหนดให้เป็นกิจกรรมที่มีคะแนน โดยใช้เวลาที่ปรับจาก ”โครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” เตรียมคำตอบของการโต้ตอบที่พบบ่อยเมื่อเริ่มกระตุ้นความตระหนักของชุมชน เช่น 


- วัยไหนก็เสี่ยงได้ ควรรณรงค์ให้ขับขี่ปลอดภัยแทน 

- รู้สึกว่าอุบัติเหตุเป็นเรื่องของดวง ที่อาจเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้ 

- หลายคนที่ขับขี่ก็ยังมีชีวิตอยู่ปลอดภัยดี ยังเป็นเรื่องไกลตัว 

- บ้านไกล จะให้ทำอย่างไร 



ยุทธวิธีที่ 2 แนวทาง “พ่อแม่ อย่าประมาท” แนวทางนี้กลุ่มเป้าหมายได้แก่พ่อแม่ ผู้ปกครองของเพื่อนนักเรียน เป็นแนวทางด้านความปลอดภัยในเด็ก อันเกิดจากความร่วมมือและความเป็นห่วงคนที่เรารัก เตรียมคำตอบของคำถาม


- พ่อแม่บางคนก็ไม่มีทางเลือก ซึ่งแนวคิดเหล่านี้ไม่ใช่แนวคิดที่ถูกต้อง แต่เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วก็ต้องปรับต่อว่าจะมีแนวทางไหนอีกที่ทำลายกำแพงทางความคิดของพวกเขาได้ 



ยุทธวิธีที่ 3 แนวทาง “เดินทางด้วยทางเลือกอื่น” แนวทางนี้กลุ่มเป้าหมายได้แก่เพื่อนนักเรียน ถ้าไม่ขี่ก่อนวัย มีหนทางอื่นในการเดินทางอย่างไร ทางเลือกอื่นอาจแตกต่างกัน เป็นความหลากหลายของพื้นที่ ที่มีปัจจัยต่างกัน

ยุทธวิธีที่ 4 แนวทาง “ว่าด้วยกฏหมาย” แนวทางนี้ใช้ได้กับทุกคน เน้นข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่าการผิดกฎหมายนี้จะนำมาซึ่งความยุ่งยากและความจำเป็นต่างๆ ในภายหลัง ทุกคนเลือกที่จะขี่ก่อนวัยหรือขี่ถูกกฏหมายก็ได้ ไม่มีใครไม่มีทางเลือก ขึ้นอยู่กับคุณเลือกมุมไหน 

- ผิดกฏหมาย > เสียสิทธิอะไรบ้าง > คุ้มเสี่ยงหรือไม่? เมื่อขับขี่มอเตอร์ไซค์ก่อนวัย จะทำให้ผิดกฏหมาย และเสียสิทธิต่างๆ มากมายเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น เช่น ไม่ว่าเขาชนเรา หรือเราชนเขา เราก็ผิด นอกจากนั้นการบาดเจ็บต้องเบิกค่ารักษาจาก พรบ. ซึ่งต้องใช้ใบขับขี่ในการเบิก เบิกบัตรทองไม่ได้ หากจะเบิกบัตรทองต้องจ่ายเองก่อน 15,000 บาท เป็นต้น หากเกิดเรื่องขึ้นมามีแต่เสีย (เงิน) กับเสีย (ชีวิต) 

- รออีกนิดก็ถูกกฏหมายแล้ว > ถ้าถูกกฏหมายดีอย่างไร เมื่อพูดถึง “เด็กขี่มอเตอร์ไซค์ไม่ได้เพราะวุฒิภาวะไม่ถึง” วุฒิภาวะในที่นี้มีลักษณะเป็นนามธรรม หลายคนก็ตีความว่าเมื่อไหร่จะมีวุฒิภาวะต่างกันออกไป แต่เมื่อวุฒิภาวะถูกครอบด้วยกฏหมายแล้ว ทุกคนต้องยอมรับว่า “ 15ปี + ใบขับขี่ ขี่ได้” และ “ไม่มีใบขับขี่ ขี่ไม่ได้” การพูดถึงวุฒิภาวะให้ชัดด้วยประเด็นด้านกฏหมาย “สิทธิทางกฏหมายที่จะได้และจะเสีย” นำไปสู่ประเด็น “รออีกนิดก็จะได้ขี่อย่างสบายใจ” 

- “ก่อน 15 ปีไม่ขี่ ไม่ใช่เรื่องเว่อร์” แนวทางนี้เกิดจากการต่อต้านว่า ก่อน 15 ไม่ขี่เป็นไปไม่ได้ เด็กที่อายุยังไม่ถึงแต่ “โตพอที่จะขี่” ต้องให้ขี่ได้ หากตีแนวคิดนี้ให้ลึกลงไปอีก เมื่อมี “โตพอ” ก็ต้องมี “เด็กไป” คำถามคือ เมื่อไหร่ที่เด็กไป และเมื่อไหร่ที่โตพอ หากถามคำถามนี้อาจะได้คำตอบที่แตกต่างกัน แต่โดยรวมแล้วหากคุณรู้สึกว่า 10 ขวบ เด็กไป แต่ 13 โตแล้ว นั่นก็แสดงว่ากลุ่มวัยที่เป็นปัญหาจริงๆอยู่ที่ช่วง 13-14 ปี ที่หากรออีกไม่กี่ปีก็จะได้ขับขี่อย่างถูกกฏหมาย แล้วจะดีกว่าไหมถ้าได้ขี่โดยมีสิทธิประกันคุ้มครองในกรณีที่เกิดเหตุต่างๆ แนวทางนี้จึงประนีประนอมด้วยการ “ขอให้ชะลอเวลาลงอีกไม่กี่ปีเพื่อสิทธิทางกฏหมาย” ดังนั้นก่อน 15 ไม่ขี่จึงเป็นไปได้และไม่ใช่เรื่องยากเกินเลย แต่หากกลุ่มเป้าหมายตอบว่า 9 ขวบ โตพอแล้ว ก็ต้องพูดเรื่องการเสียสิทธิทางกฎหมายแทน

ยุทธวิธีที่ 5 ปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมและกฎระเบียบในโรงเรียน เช่นป้ายรณรงค์ให้ความรู้ ที่จอดรถมอเตอร์ไซด์ จุดจอดรถรับส่งเด็กนักเรียนหน้าโรงเรียน การติดตั้งการบันทึกภาพการใช้มอเตอร์ไซด์ การปรับเปลี่ยนกฎระเบียบในโรงเรียน

ยุทธวิธีที่6 ทำประชามติในโรงเรียน 15ปีไม่ขี่ กับ การใช้หมวก 100%

กิจกรรม 6: นักประเมิน 

ประเมินผล ประเมินผลลัพธ์ การขับขี่ของเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปี (ม3 และต่ำกว่า) ประเมินทางอ้อม ได้แก่ ประเมินการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม กฎของโรงเรียน ชุมชน การนำเสนอของสื่อมวลชน การขยายวงการโต้ตอบในสื่อ สังคม

กิจกรรม 7: เล่าสู่เพื่อนด้วยความหวังดี 

เข้าร่วมเวทีสาธารณะ Show & Share เพื่อให้นักเรียน/ครู นำเสนอผลงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

โรงเรียนต้นแบบไม่ขับขี่มอเตอร์ไซค์

โรงเรียนวัดแหลมฉบัง ชลบุรี 

รับจำนวนจำกัด 80 โรงเรียน


โรงเรียนที่ได้รับคัดเลือก
จะมีเจ้าหน้าที่โทรแจ้งผล

และนัดหมาย (วัน/เวลา/สถานที่)
เข้าร่วม “เวทีปฐมนิเทศ”
เพื่อทำความเข้าแนวทางการโครงการ ต่อไป 

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 

คุณกรวิการ์ บุญตานนท์ (หนุงหนิง)
โทร 02-644-9080-1 ต่อ 19
มือถือ 081-7010411
หรืออีเมล์ zunsha@hotmail.com 

โปรดแสดงความคิดเห็น

FACEBOOK COMMENTS WILL BE SHOWN ONLY WHEN YOUR SITE IS ONLINE

DekDontDrive

โครงการก่อน15ปีไม่ขับขี่มอเตอร์ไซค์ 
www.dekdontdrive.com

SHARE