งานแถลงข่าว

dsc_4172

เด็ก don’t drive : ก่อน15ปี เลิกขี่ เลิกเจ็บ เลิกตาย

ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก เปิดสถานการณ์การตายของเด็ก 10-14 ปี มีแนวโน้มสูงขึ้น สาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 จากอุบัติเหตุมอเตอร์ไซด์ พบเด็ก 7 ขวบเริ่มขี่ 64% พ่อแม่เป็นผู้สอน เชื่อลดจำนวนการขับขี่ในเด็กเล็ก ลดอุบัติเหตุทางถนนลดถึง 65%  

วันที่ 29 พ.ย. ที่อาคารเรียนรู้สุขภาวะ

ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดตัวโครงการ “เด็ก don’t drive : ก่อน15ปี เลิกขี่  เลิกเจ็บ  เลิกตาย”

รศ.นพ. อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์  ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี  เปิดเผยข้อมูลว่า อุบัติเหตุทางถนนเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของกลุ่มเด็กอายุ 10-14 ปี สาเหตุหลักมาจากรถมอเตอร์ไซค์ ทั้งการขับขี่ก่อนวัย เมาแล้วขับ ขับเร็ว และไม่ใส่หมวกนิรภัย แม้ว่าพ.ร.บ.จราจรทางบก จะห้ามไม่ให้เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ขับขี่รถมอเตอร์ไซค์และอายุ 15-18 ปี ขับขี่รถจักรยานยนต์ได้แต่เครื่องยนต์ต้องใหญ่ไม่เกิน 110 ซีซี  ในทางปฏิบัติกฎระเบียบนี้ถูกละเลยทั้งสังคม ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว โรงเรียน ผู้นำท้องถิ่น ตำรวจ หรือแม้แต่นักวิชาการเอง โดยพบว่า จากการสำรวจเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จาก 9 จังหวัด จำนวน 2,822คน เฉลี่ยอายุ 12 ปี พบว่า 58% ขับขี่รถจักรยานยนต์เป็นแล้ว โดยเฉพาะเด็กผู้ชายขับขี่ได้มากกว่าเด็กหญิง และยังพบเด็กอายุน้อยที่สุดที่เริ่มหัดขับคือ 7 ปี อายุที่เริ่มหัดขับมากที่สุดคืออายุ 10-11 ปี ถึง 64% สอนโดยพ่อ แม่ ผู้ปกครอง

รศ.นพ.อดิศักดิ์ กล่าวว่า ในการสำรวจสถิติเด็กตายต่ำกว่า 15 ปีจากอุบัติเหตุทางถนน จากการศึกษาของศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็กพบว่า ในเวลา 16 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2543-2558 อัตราการตายจากอุบัติเหตุทางถนนในเด็กกลุ่มอายุน้อยกว่า 10 ปี เช่น การจมน้ำ อุบัติเหตุในบ้านมีแนวโน้มลดลง แต่เด็กกลุ่มอายุ 10-14 ปี มีแนวโน้มสูงขึ้นถึง 28%

 

 

“ในปี 2558 เด็กอายุน้อยกว่า 15 ปีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนถึง 943 คน เป็นกลุ่ม 10-14 ปี 575 คน คิดเป็น 61% ในจำนวนนี้เป็นผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ 378 คน คิดเป็น 66% ของเด็ก 10-14 ปีที่เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุทางถนน ดังนั้นหากเด็กกลุ่มอายุ 10-14 ปีปฏิบัติตามกฎหมายด้วยการไม่ขับขี่ก็จะลดการตายของเด็กอายุต่ำกว่า 14 ปี จากอุบัติเหตุทางถนนลงถึง 40% และลดอัตราการตายของเด็ก 10-14 ปีจากอุบัติเหตุทางถนนลงถึง 65%”

dsc_3959dsc_3967

รศ.นพ.อดิศักดิ์ กล่าวอีกว่า เพียงแค่ปฏิบัติตามกฎหมายที่มีอยู่แล้วก็จะลดการตายของเด็กวัยนี้ลงได้ จึงเกิดโครงการเด็ก don’t drive ก่อน 15 ปี เลิกขี่ เลิกเจ็บ เลิกตาย ซึ่งริเริ่มจากตัวเด็กด้วยกันเองเพื่อลดการขับขี่ก่อนวัย 15 ปี  โดยการชักชวนเด็กไม่เกิน ม.3 รวมตัวกัน 4-5 คน และครูที่ปรึกษาร่วมด้วย จำนวน 80 โรงเรียน 25 จังหวัด มาร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความปลอดภัยในโรงเรียน ทั้งการสำรวจข้อมูลผู้ขับขี่รถมอเตอร์ไซด์อายุต่ำกว่า 15 ปี ทำการรณรงค์เพื่อสื่อสารกับเพื่อนๆ การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนและพัฒนากฎระเบียบในโรงเรียน สิ่งที่สำคัญคือ เด็กได้แสดงความตั้งในเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองและหมู่คณะของตัวเอง ซึ่งแนวทางการทำงานที่ประสบผลสำเร็จจะนำไปขยายผลในโรงเรียนที่อยู่รอบข้างต่อไป

dsc_3980

นายพรหมมินทร์ กัณธิยะ ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ (สคอ.) กล่าวว่า เชื่อมั่นว่าการรณรงค์ช่วยกันลดพฤติกรรมการขับขี่มอเตอร์ไซค์ของเด็กต่ำกว่า 15 ปี สามารถทำได้จริง เพียงแต่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันลงมือทำอย่างจริงจัง จะต้องลดพฤติกรรมขับขี่ก่อนวัย 15 ปีให้เหลือ “0” ด้วยการไม่โดยสารผู้ขับขี่เมาและผู้ขับขี่อายุน้อยกว่า 15 ปี ทำให้เด็กวัยนี้ ครอบครัวและชุมชนรับรู้ความเสี่ยง รวมถึงการออกนโยบายมาตรการการเข้าถึงมอเตอร์ไซด์ จัดรถรับส่งที่มีประสิทธิภาพ เป็นต้น ซึ่งเป็นภารกิจร่วมของครอบครัว สถานศึกษา ชุมชน ตำรวจ ผู้ร่วมใช้ถนน และภาคนโยบาย

dsc_3994

นายธีร์ ภวังคนันท์ ผู้อำนวยการศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กล่าวว่า การห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ขับขี่รถจักรยานยนต์ถือเป็นกฎหมาย แต่ที่ผ่านมา สพฐ. ไม่เคยมีการสั่งการในเรื่องนี้ แต่ขณะนี้สถานการณ์ถือว่าหนักข้อขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในต่างจังหวัดเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ใช้รถจักรยานยนต์กันเยอะมาก และมีอุบัติเหตุเยอะขึ้น ซึ่ง สพฐ. พร้อมสนับสนุนการรณรงค์ห้ามขับขี่รถจักรยานยนต์ในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี โดยคาดว่าจะมีการออกเป็นหนังสือสั่งการให้โรงเรียนในสังกัด สพฐ. ทุกแห่งต้องดำเนินการในเรื่องนี้ ไม่ใช่แค่เพียงแต่โรงเรียนนำร่อง 80 แห่งเท่านั้น เพื่อช่วยให้การทำงานง่ายขึ้น โดยผู้อำนวยการ หรือผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา ต้องมีการตรวจสอบสถานการณ์ สอดส่องดูแลและควบคุมสถานการณ์นี้ สำหรับหลักสูตรการเรียนการสอนมีเรื่องอุบัติเหตุจราจรทางถนนอยู่แล้ว เพียงแต่อาจจะต้องมีการปรับให้กระบวนการจัดการเรียนเรียนรู้ให้มีความคมขึ้น เป็นวิถีของโรงเรียน และวิถีชีวิตเพื่อให้เกิดเป็นวินัย โดยอาจเพิ่มเข้าไปในส่วนของการลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้

dsc_4007

นายวิสูตร อุดมพฤกษชาติ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านชำฆ้อ จ.ระยอง โรงเรียนนำร่องโครงการก่อน 15 ไม่ขี่ กล่าวว่า มีนักเรียน ม.ต้น จ.ระยองหลายรายต้องบาดเจ็บและเสียชีวิตเพราะขี่มอเตอร์ไซค์ โรงเรียนจึงเข้าร่วมโครงการโดยเริ่มจากการจัดประชุมผู้ปกครองและนำเหตุการณ์ความสูญเสียของตัวแทนผู้ปกครองมาเล่าให้ฟัง พร้อมกับเชิญตำรวจมาย้ำถึงวินัยการจราจรว่าเด็กต่ำกว่า 15 ปี ไม่มีสิทธิ์ขับขี่มอเตอร์ไซด์ จากนั้นได้มีการติดตามพฤติกรรมการขับขี่ของเด็กนักเรียนอายุต่ำกว่า 15 ปี ทำให้สามารถลดจำนวนการขับขี่ลงจาก 30ราย เหลือ 6 ราย ซึ่งบ้านอยู่ไกลจึงย้ำให้สวมหมวกนิรภัยทุกครั้ง ซึ่งนักเรียนและผู้ปกครองได้เห็นความสำคัญของความปลอดภัยและชีวิตจึงลดสถิติการเกิดอุบัติเหตุลง

dsc_4079

นางประอรศิริ ชวีวัฒน์ ครูชำนาญการพิเศษโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 7 จ.สุพรรณบุรี หนึ่งในโรงเรียนนำร่องโครงการก่อน 15 ไม่ขี่กล่าวว่า ผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง และนักเรียนโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 7 ตระหนักเรื่องภัยจากการขับขี่มอเตอร์ไซค์ก่อนวัย 15 ปี จึงทำโครงการรณรงค์ในโรงเรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย เช่น การทำละครและการแต่งเพลงเพื่อเป็นสื่อรณรงค์ การให้ความรู้เพื่อสร้างแรงจูงใจในการไม่ขับขี่ก่อนวัย และโรงเรียนจัดรถรับส่งฟรีแก่นักเรียนม.1-4 เพื่อลดอุบัติเหตุ ทำให้นักเรียนทั้งภายในและนอกโรงเรียนตระหนักถึงอันตรายจากการขับขี่มอเตอร์ไซค์ก่อนวัย 15 ปี รู้ถึงผลกระทบต่อตนเองและบุคคลรอบข้างโดยเฉพาะครอบครัว และเด็กได้เรียนรู้ผ่านการฝึกปฏิบัติจริง

dsc_4072dsc_4041 dsc_4147

Workshop  “แนวทางสร้างสรรค์โครงการ “เด็ก don’t drive : ก่อน15ปี ไม่ขี่มอเตอร์ไซค์” กับกลุ่มโรงเรียนมัธยมที่สมัครเข้าร่วมโครงการ 

 

 

dsc_4328 dsc_4298 dsc_4378 dsc_4385
dsc_4202 dsc_4217 dsc_4218 dsc_4238 dsc_4273 dsc_4279
dsc_4403 dsc_4426
dsc_4478 dsc_4474 dsc_4372

www.dekdontdrive.com

 

โปรดแสดงความคิดเห็น